โรคไข้ซิก้ากับคุณแม่ตั้งครรภ์

ภัยร้ายที่ส่งผลกระทบต่อทารกภายในครรภ์

โรคไข้ซิก้า

ไข้ซิก้าเกิดจากเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus) ซึ่งเป็นอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (single-stranded RNA) อยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส (Flavivirus) จำพวกเดียวกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค สาเหตุหลักของการติดเชื้อไข้ซิก้าคือการถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด ยุงลายตัวเมียจะดูดเลือดจากคนที่มีเชื้อไวรัสซิกา จากนั้นไวรัสซิกาก็จะสามารถเข้าสู่กระแสเลือดของยุง และยุงจะทำการแพร่เชื้อไปยังคนบุคคลอื่นๆ นั่นเอง

โรคไข้ซิก้าอันตรายจากแม่สู่ลูกในครรภ์

เชื้อไวรัสซิกายังสามารถแพร่กระจายจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ได้  เชื้อไวรัสซิกานั้นสามารถแพร่กระจายจากเลือดของมารดาเข้าสู่กระแสเลือดของทารกผ่านทางรกได้ การติดเชื้อผ่านทางรกนี้อาจเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ แต่ความเสี่ยงจะสูงขึ้นในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง หรือ  การแพร่เชื้อผ่านทางน้ำคร่ำ เชื้อไวรัสซิกาอาจแพร่กระจายจากเลือดของมารดาเข้าสู่น้ำคร่ำและถุงน้ำคร่ำได้ ทารกอาจติดเชื้อโดยการที่กลืนน้ำคร่ำหรือถุงน้ำคร่ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสซิกา

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับทารกภายในครรภ์

  • ภาวะศีรษะเล็ก (Microcephaly) ซึ่งเป็นภาวะที่ทารกมีศีรษะเล็กกว่าปกติ มักเกิดจากสมองของทารกไม่เจริญเติบโตเต็มที่

  • ภาวะปัญญาอ่อน (Mental retardation) ภาวะที่บุคคลมีระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยทั่วไป ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ เข้าใจ การสื่อสาร พัฒนาการ และขาดทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต

  • ภาวะออทิสติก (Autism spectrum disorder) มีความผิดปกติของสมองที่ส่งผลต่อพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร การเข้าสังคม การมีความสนใจซ้ำ หรือมีรูปแบบการกระทำเป็นแบบแผนจำกัดในเรื่องเดิม

  • ภาวะตาผิดปกติ (Eye abnormalities) ภาวะที่ตาไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนตามปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างตาหรือการทำงานของตา

  • ภาวะหูหนวก (Hearing loss) ภาวะที่สูญเสียการได้ยินทั้งหมดหรือบางส่วน โดยอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นในภายหลัง 

  • ภาวะหัวใจผิดปกติ (Cardiac defects) ภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจหรือการทำงานของหัวใจ 

  • ภาวะสมองพิการ (Cerebral palsy) เป็นความผิดปกติทางระบบประสาทที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและท่าทาง เกิดจากการบาดเจ็บที่สมองที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ในช่วงตั้งครรภ์ การคลอด หรือในช่วงวัยเด็กแรกเกิด 

  • ภาวะเสียชีวิต

ลดความเสี่ยงการเป็นโรคไข้ซิก้าแบบถูกวิธี

การหยุดยั้งโรคไข้ซิก้า สามารถทำได้โดยกำจัดต้นต่อของปัญหาที่เป็นพาหะนำโรคนั่นคือ “ยุงลาย”

นวัตกรรม “Leo-Trap กับดักไข่ยุงลาย” จัดการยุงลายไม่ให้โตแต่ตาย ตัดวงจรชีวิตตั้งแต่ต้นตอ โดยมีรูปทรงของกับดักและสารดึงล่อยุงลายให้เข้ามาวางไข่ เมื่อไข่ฟักจะเจอกับสารกำจัดลูกน้ำยุงลายหรือสารเอซาย ลูกน้ำยุงลายก็จะตายและไม่สามารถเติบโตได้ต่อไป โดยสามารถลดจำนวนยุงลายได้ถึง 92.9%

คุณแม่และลูกปลอดภัยด้วยการใช้ Leo-Trap

แนบหลักฐานการโอนที่นี่

ยอดชำระทั้งสิ้น